,

ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg

กทม.รวมพลังโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน หยุดยั้งวัณโรค

วันที่ 27 ก.ย. 56 เวลา 10.00 น. นพ.พีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นพ.สามารถ ตันอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ พร้อมผู้บริหารสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย ให้การต้อนรับ ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “กรุงเทพฯหยุดวัณโรค” จัดโดย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อประสานความร่วมมือกับสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนทุกสังกัดในการขัยเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จในการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ และสามารถผลักดันให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก 22 ประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลก พร้อมทั้งสร้างแนวร่วมในการทำงานด้านการควบคุมวัณโรคอย่างเข้มข้นภายใต้ขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบ และมีมาตรฐานเดียวกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้บริหาร ตัวแทน ผู้ประสานงานวัณโรคจากโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐ เอกชน และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย จำนวน 117 แห่ง รวมทั้งสิ้น 262 คน ณ ห้อวประชุทเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ชั้น 20 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ

 

ดร.ผุสดี กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับปัญหาวัณโรคอย่างต่อเนื่องตลอดมาตามนโยบายมหานครแห่งความสุขของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรค โดยยึดตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกและสอดคล้องกับแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Programme : NTP) ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่คาดประมาณการ และให้การรักษาผู้ป่วยในระยะแพร่เชื้อให้หายอย่างน้อยร้อยละ 85 ของจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบ แต่ถึงอย่างไรการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากสถานพยาบาลทุกแห่งในการร่วมดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งการวินิจฉัย การรักษา การติดตามผู้ป่วยที่ขาดยา การส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องมีการรายงานข้อมูลวัณโรคอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อทราบสภาพปัญหาและสถานการณ์ที่แท้จริงของวัณโรค

 

350

นพ.พีระพงษ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีประชากรเกือบ 10 ล้านคน ซึ่งมีวิถีชีวิต สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดูแลในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน จะต้องประกอบด้วยหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เพื่อดูแลประชาชนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ การรักษาวัณโรคให้หายเป็นการควบคุมโรคที่ดีที่สุด เพื่อหยุดวัณโรคไม่ให้แพร่กระจายเป็นปัญหาในวงกว้างอีกต่อไป